วิจัยด้านการท่องเที่ยว

การวิจัยด้านการท่องเที่ยว จะเป็นการศึกษาค้นคว้าความรู้อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยขั้นตอนตามหลักการทางวิจัยทางสังคมศาสตร์ เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น นักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว การบริการ กิจกรรมการท่องเที่ยว หรือภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การวิจัยด้านการท่องเที่ยวมีประเด็นในศึกษาวิจัยที่หลากหลาย

ด้านเศรษฐกิจ

การวิจัยด้านการท่องเที่ยวจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลากหลายที่เกี่ยวกับการให้บริการในการเดินทางของนักท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจนันทนาการ ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมไปถึงธุรกิจทางอ้อม เช่น ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจการจัดการประชุม ธุรกิจห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างประเด็นวิจัยในขอบข่ายนี้ เช่น

  • ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการของโรงแรม หรือแหล่งท่องเที่ยว
  • ความคิดเห็นและความคาดหวังของลูกค้าต่อการบริการของโรงแรม
  • รูปแบบการบริการนำเที่ยวที่ลูกค้าพึงพอใจ
  • การศึกษาเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการกับคู่แข่งขัน
  • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกพักในแบบโฮมสเตย์
  • การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการจองห้องพักที่ตรงใจลูกค้า
  • การพัฒนาการจดจำตราสินค้าของสายการบินเพื่อผลการทางการตลาด
  • พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นต้น

ด้านสังคม

การวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่ผ่านมาจะสนใจกับการท่องเที่ยวในเขตเมือง หรือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรม และในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีการเติบโตและขยายตัวไปสู่ชุมชนหรือหมู่บ้านในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น จากสาเหตุที่นักท่องเที่ยวมีความต้องการที่จะเดินทางไปสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือวิถีชีวิตของผู้คนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ซึ่งประเด็นการวิจัยในกลุ่มนี้ เช่น

  • การศึกษาการเติบโตทางการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาที่มีต่อวิถีชีวิตคนในพื้นที่
  • ผลกระทบของการท่องเที่ยวในพื้นที่ชาวเชาต่อวิถีชีวิตและความเป็นของคนในพื้นที่
  • รูปแบบของการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
  • การส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นที่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ด้านสิ่งแวดล้อม

การวิจัยด้านการท่องเที่ยว นอกจากจะมีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพราะกิจกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักจะจัดในสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ขอบข่ายประเด็นการวิจัยในกลุ่มนี้ เช่น

  • บทบาทของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในด้านแนวทางการอนุรักษ์และลดผลกระทบจากการเปิดแหล่งท่องเที่ยว
  • การแก้ไขปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • การศึกษาผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจากการจัดการนำเที่ยวของผู้ประกอบการนอกพื้นที่
  • การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่งจากการที่โรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ในพื้นที่ชายหาด

จากประเด็นการวิจัยด้านการท่องเที่ยวที่เสนอไปข้างต้น เราสามารถที่จะสรุปจุดมุ่งหมายของการวิจัยด้านการท่องเที่ยวไว้ได้ ดังนี้

  • เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชา (New knowledge)เช่น การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ แนวคิดการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น
  • เพื่อให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา (Tourism business development)เช่น การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลตอการเลือกเข้าพักโฮมสเตย์ การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาการตลาดออนไลน์ของกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว
  • เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจประเด็นพฤติกรรมการท่องเที่ยวและสามารถนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Tourist studies)เช่น การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการพฤติกรรมการซื้อสินค้ากลุ่มของฝากหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การศึกษาแรงจูงใจในการเดินทางและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวอาหรับ
  • เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวประเภทต่างๆ (Tourism development) เช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
  • เพื่อให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาและดูแลแหล่งท่องเทียว (Community development)เช่น การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มตลาดน้ำภาคกลาง การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

นอกจากนี้ยังมีประเด็นวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้านการท่องเที่ยวอีกหลายประเด็น เช่น เพื่อเป็นข้อมูลให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น


แพ็คเก็จบริการ

LEVEL
S

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test}, การทดสอบความแปรปรวน (ANOVA), การวิเคราะห์  สหสัมพันธ์ (correlation), การวิเคราะห์ถดถอย (regression)

LEVEL
M

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม LISREL, AMOS)

LEVEL
L

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test}, การทดสอบความแปรปรวน (ANOVA), การวิเคราะห์  สหสัมพันธ์ (correlation), การวิเคราะห์ถดถอย (regression, การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม LISREL, AMOS)

สอบถามเพิ่มเติม