วิจัยด้านการศึกษา

การวิจัยด้านศึกษา เป็นรูปแบของการวิจัยในกลุ่มด้านที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา (Education research) เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศต่างๆซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในบริบทการจัดการศึกษา ในประเด็นต่อไปนี้

  • รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
  • การวัดและประเมินผลการพัฒนากิจกรรมหรือ
  • โปรแกรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของผู้เรียน ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ
  • การศึกษาสภาพหรือผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา การบริหารงานงานด้านการศึกษา
  • การพัฒนาครู พัฒนาอาคารสถานที่
  • การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
  • การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือชุมชมกับโรงเรียน
  • การพัฒนาหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยทางการศึกษามีขอบเขตการศึกษาที่กว้าง ครอบคลุมกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ของมนุษย์ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร ระบบการบริหารงาน สิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ การวิจัยทางการศึกษาสามารถที่จะทำการศึกษาจากบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มเดียว หรืออาจจะหลากหลายกลุ่มที่มีความหลากหลายเพื่อแสวงหาประเด็นคำตอบที่ชัดเจนและหลายมิติ อาจจะเป็นการศึกษาภายใต้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ตั้งแต่ในระดับกลุ่มนักเรียน ห้องเรียน โรงเรียน ชุมชน หรือระดับพื้นที่ภาค ไปจนถึงระดับประเทศ โดยอาจใช้ระยะเวลาสั้นหรือยาวแยกต่างกันไปตามปัญหาการวิจัย

ภายใต้ประเด็นการศึกษาข้างต้น ยังมีขอบเขตการศึกษาที่เป็นรายละเอียดมากมายในการทำงานวิจัยด้านการศึกษา ยกตัวอย่าง เฉพาะด้านการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research) ยังสามารถแบ่งได้อีก 4 กลุ่มประเด็นในกรศึกษา โดยเรียงลำดับจากช่วงเวลาในแต่ละภาคการศึกษา ดังนี้ (สิริพันธ์ สุวรรณมรรคา, 2557)

ซึ่งแต่ละการวิจัยเชิงปฏิบัติในชั้นเรียน (Classroom action research: CAR) จะความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงร้อยเรียงความสัมพันธ์กันตลอดกระบวนการวิจัย ดังตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล กับ การวิจัยเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ดังแผนภาพ

กล่าวโดยสรุป การวิจัยด้านศึกษาศาสตร์ (Educational research) เป็นรูปแบบของการวิจัยที่มีขอบเขตกว้าง ครอบคลุมทุกกิจกรรม กระบวนการและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น

  • ผู้บริหารที่ต้องการพัฒนาคุณลักษณะของคนในองค์กรที่ติดตามผลได้
  • ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ต้องการสร้างโปรแกรมหรือกิจกรรมพัฒนาบุคลากรในองค์กรในทุกสาขาอาชีพ
  • บุคลากรทางการศึกษาทุกฝ่าย เช่น หน่วยงานทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้พัฒนาหลักสูตร ครู หรือบุคคลหรือฝ่ายงานอื่นๆ ด้านการศึกษาทั้งหมด
  • ฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรม การรับรู้ ความคิด ความรู้ หรือการเรียนรู้ของบุคคล

แพ็คเก็จบริการ

LEVEL
S

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test}, การทดสอบความแปรปรวน (ANOVA),
    การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation), การวิเคราะห์ถดถอย (regression)

LEVEL
M

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม LISREL, AMOS)

LEVEL
L

*ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยหรือประเด็นการวิจัย และคณะกรรมการแต่ละสถาบันยอมรับ

การวิเคราะห์ข้อมูล

  • สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)
  • สถิติอ้างอิง (การทดสอบค่าเฉลี่ย (t-test}, การทดสอบความแปรปรวน (ANOVA), การวิเคราะห์  สหสัมพันธ์ (correlation), การวิเคราะห์ถดถอย (regression, การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม LISREL, AMOS)

สอบถามเพิ่มเติม