การวิจัยในด้านกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นการนำข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงจากการใช้กฎหมายที่มีประเด็นปัญหามาศึกษาวิจัย
มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อเข้าใจถึงแนวคิดทฤษฎีทางกฎหมาย อาจมีการเปรียบเทียบข้อกฎหมายระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ นำแนวคำพิพากษาของศาลในกรณีที่คล้ายคลึงกัน รวมไปถึงมาตรการทางกฎหมายและงานวิจัยด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะเป็นการเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในประเด็นที่ผู้วิจัยได้จากการสังเคราะห์ข้อค้นพบในงานวิจัย
ลักษณะของงานวิจัยด้านกฎหมายส่วนใหญ่จะเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการศึกษาจากเอกสาร ประมวลกฎหมาย เอกสารประกอบคำพิจารณาของศาล พระราชบัญญัติ ตำราทางวิชาการ บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย เอกสารประกอบการสัมมนา สถิติสำคัญๆ ฯลฯ และอาจมีการใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายนั้นๆ เพื่อให้เห็นภาพของการวิจัยด้านกฎหมายอย่างง่าย จะพิจารณาจากพื้นฐานการสร้างกรอบแนวคิดของงานวิจัยด้านกฎหมายได้ ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยด้านกฎหมายส่วนใหญ่มักจะใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept interview) เพื่อสัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้อง โดยสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครอบครอบวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดการวิจัย นอกจากนี้ยังมีการใช้อุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูลขณะสัมภาษณ์ ได้แก่ เครื่องบันทึกภาพและเสียง การจดบันทึกการสัมภาษณ์ เป็นต้น